การเติมอากาศ (Aeration) เป็นหัวใจสำคัญในการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียแบบใช้ออกซิเจนจากอากาศ เพราะถ้าหากระบบบำบัดน้ำเสียขาดออกซิเจนและจุลินทรีย์ทั้งหลายก็จะไม่สามารถทำงานได้ ถ้ามีปริมาณออกซิเจนละลายน้ำอยู่สูง ระบบก็จะสามารถบำบัดน้ำได้ดีหรือสามารถรับน้ำเสียได้ดีมากขึ้น แต่เนื่องจากค่าการละลายน้ำของออกซิเจนที่ความดันบรรยากาศมีค่าต่ำย่อมจะทำให้มีแรงขับ (Driving Force) ต่ำตามไปด้วย
ประเภทของเครื่องเติมอากาศ
1.เครื่องเติมอากาศแบบกังหันตีน้ำ มอเตอร์ของเครื่องจะขับเคลื่อนให้ใบพัดหมุนและตีน้ำซึ่งจะทำให้เกิดการเติมอากาศในแนวระนาบ และเกิดการกวนน้ำโดยฟองอากาศเล็กๆ ที่เกิดจากการตีน้ำซึ่งมีผลเพิ่มค่าออกซิเจนละลายน้ำให้มากขึ้นซึ่งเหมาะสำหรับระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อกึ่งธรรมชาติ (Facultative Pond)
เป็นเครื่องเติมอากาศแบบแช่ในน้ำที่มีฟังก์ชั่นการทำงานแบบสูบอากาศด้วยตัวเองใบพัดชนิดกึ่งเปิด (semi-open) แบบพิเศษที่ติดตั้งไว้ภายในจะก่อให้เกิดแรงดูดเพื่อดึงอากาศจากบริเวณผิวน้ำ อากาศที่ถูกดูดและน้ำจะถูกผสมเข้าด้วยกันและถูกระบายออกไปด้วยแรงดันสูงกลไกนี้ถูกคิดค้นขึ้น เพื่อช่วยให้สามารถในการแตกตัวของออกซิเจนมีประสิทธิภาพสูงอัตราการไหลของอากาศ – Curve ความลึกของน้ำ
3.เครื่องเติมอากาศผิวนํ้าแบบรอบช้า (Low Speed Surface Aerator) เครื่องประเภทนี้จะใช้ในลักษณะแนวตั้ง ความกว้างของใบพัดจะมีขนาดใหญ่ โดยกระบวนการเติมออกซิเจนในน้ำคือ เครื่องจะทำการตีน้ำด้วยลักษณะการตีจากด้านล่างขึ้นด้านบน ซึ่งการทำงานในลักษณะนี้จะช่วยให้สามารถแลกเปลี่ยนอากาศแบบผิวน้ำได้เป็นอย่างดี