ลูกลอย (Float Switch) มีโครงสร้างการทำงานอย่างไร
เราสามารถอธิบายโครงสร้างการทำงานของสวิทซ์ลูกลอยหรือ Float Switch เป็นส่วนต่างๆ ซึ่งจะทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป โดยส่วนโครงสร้างที่มีความสำคัญในการทำงานมีดังนี้
ลูกลอย (Float) คือ ตัววัดระดับของน้ำ ที่สัมผัสกับน้ำโดยตรง ซึ่งจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป มีลักษณะกลม, แบน หรือลักษณะทรงกระบอกแต่ต้องมีความหนาแน่นที่น้อยกว่าของเหลว เพื่อที่จะทำให้ลูกลอยนั้นสามารถลอยตัวอยู่ได้ เพราะว่าตัวของลูกลอยนั้นสัมผัสกับน้ำโดยตรง จำเป็นต้องมีวัสดุที่สามารถใช้ทำหลากหลายชนิด และขึ้นอยู่กับความทนทานของวัสดุนั้นๆด้วย แต่ถ้าเป็นลูกลอยลักษณะทั่วๆไป มักจะทำจาก PVC (polyvinyl chloride) แต่ส่วนมากแล้วลูกลอยที่ทำมาจาก PP (Polypropylene) จะมีความทนทานมากกว่า และเป็นที่นิยมใช้ ซึ่งนอกจากลูกลอยที่ทำมาจากพลาสติกแล้วยังมีลูกลอยที่ทำมาจากสเตนเลส หรือโลหะประเภทอื่นๆ อีกด้วย
สวิทซ์หน้าคอนแทค Contact Switch คือ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เป็นสะพานไฟ เพื่อให้วงจรไฟฟ้าทำงานครบวงจร ซึ่งมีทั้งที่บรรจุอยู่ในตัวลูกลอย และติดตั้งภายในก้าน Stem โดยประเภทของ Switch ที่ใช้ในตัวลูกลอย มีใช้กันอยู่ 2 ประเภท คือ
สายไฟฟ้า Electrical Cable / Lead Wire เป็นส่วนที่เชื่อมต่อกับวงจรไฟฟ้าภายนอกและวงจรของCotact Switch ตัววัสดุที่จะใช้ จะต้องทนทานต่อสภาพแวดล้อมในการติดตั้ง ส่วนใหญ่ในท้องตลาดจะเป็นวัสดุที่เป็น PVC (polyvinyl chloride) หรือ Neopren ซึ่งจะมีความทนทาน นอกจากนี้วัสดุที่ใช้ ยังมีเรื่องของขนาดและความยาวของสายด้วย ขึ้นอยู่กับกระแสและแรงดันที่ต้องการใช้งาน แต่ความยาวของสายไฟนั้นควรเลือกให้คลอบคลุมต่อการใช้ เพราะไม่ควรมีการต่อสายหรือเพิ่มความยาว เนื่องจากจะทำให้เกิดการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า ซึ่งทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้
ตัวถ่วงน้ำหนัก Counter Weight หรือตุ้มถ่วงน้ำหนัก ในกรณีที่ติดตั้ง Float หรือลูกลอย ในลักษณะที่ถ่วงในน้ำต้องจำเป็นใช้ตัว Counter Weight หรือตัวถ่วงน้ำหนักไว้ด้วย เพื่อที่จะทำให้ลูกลอยจมลงไปอยู่ในน้ำ และสามารถทำงานได้ตรงตามฟังก์ชั่น แต่สำหรับลูกลอยที่มีการติดตั้งแบบแนวตั้งหรือแนวนอน ที่มีแกนหรือ Stem เป็นตัวประครองอยู่แล้ว ฉะนั้นก็ไม่จำเป็นต้องใช้ตัว Counter Weight ถ่วงน้ำหนัก เนื่องจากสามารถใช้การจับยืดที่ตัวเกลียวของ Stem ได้เอง
รูปที่ 5 Counter Weight ตุ้มถ่วงที่ใช้กับ Float Switch