ความต่างระหว่าง โครงสร้างเครน ไฟฟ้า Crane แบบคานเดี่ยวและแบบคานคู่
จากบทความก่อนหน้านี้ที่เราได้เขียนถึงเรื่องประเภทของเครนโครงสร้างแล้ว วันนี้เราจะพูดถึงเรื่องความแตกต่างของโครงสร้างเครนไฟฟ้า แบบคานเดี่ยวและแบบคานคู่กันค่ะ ก่อนอื่นขอเกริ่นก่อนนะคะว่าเครนคืออะไร
เครน (Crane)คือ คานกลางที่รับน้ำหนักการยกเป็นส่วนที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการรับน้ำหนักขอเครนในเชิงอยู่กับที่ เครนต้องออกแบบให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานในด้านความปลอดภัย
โครงสร้างเครน (Crane Structure) เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ประกอบกับเครน ซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจาก โครงสร้างเครน ต้องรับน้ำหนักในภาวะที่เครนอยู่กับที่ (Static Load) และรับน้ำหนักในภาวะที่เครนมีการเคลื่อนที่ (Dynamic Load) โครงสร้างเครนจึงประกอบไปด้วยเครน (Crane Bridge or Girder) คานล้อขับเคลื่อนเครน (End Truck or End Carriage) และโครงสร้างอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และวันนี้เราจะมาอธิบายลักษณะของโครงสร้างเครนไฟฟ้าแบบคานเดี่ยวและแบบคานคู่ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันออกไป ตามพื้นที่หน้างานและการใช้งานของอุตสาหกรรมแต่ละประเภท ไปดูกันเลยค่ะว่าลักษณะโครงสร้างของเครนไฟฟ้าเป็นแบบไหนบ้าง และมีความแตกต่างกันอย่างไร
1.เครนเหนือศรีษะ (Overhead Cranes)
เหมาะสำหรับใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้งานยกน้ำหนักไม่หนักมาก ซึ่งควรมีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 6 – 25 เมตร และควรมีน้ำหนักยก
ตั้งแต่ 0.1 ตัน ถึง 12.5 ตัน เป็นมาตรฐาน
เหมาะสำหรับใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้งานยกน้ำหนักที่หนักมาก ซึ่งควรมีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 10-30 เมตร และควรมีน้ำหนักยก
ตั้งแต่ 5 ตัน ถึง 50 ตัน เป็นมาตรฐาน
2. เครนสนามขาสูง 2 ข้าง (Gantry Cranes)
เหมาะสำหรับใช้ติดตั้งบนพื้นที่กลางแจ้ง ในร่มใต้หลังคาโรงงาน และโรงงานที่ไม่ได้เตรียมโครงสร้างเสาไว้ เพื่อรับเครนเหนือศีรษะ ซึ่งมีความจำเป็นต้องติดตั้งเครนสนามขาสูง 2 ข้าง วางบนพื้นโรงงาน และลักษณะเช่นเดียวกับเครนเหนือศีรษะ แบบคานเดี่ยว ที่มีความเหมาะสมกับอุตสาหกรรมที่ใช้งานยกน้ำหนักไม่มากนัก ควรมีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 6 – 20 เมตร และควรมีน้ำหนักยกตั้งแต่ 0.1 ตัน ถึง 12.5 ตัน เป็นมาตรฐาน
เหมาะสำหรับใช้ติดตั้งบนพื้นที่กลางแจ้ง ในร่มใต้หลังคาโรงงาน และโรงงานที่ไม่ได้เตรียมโครงสร้างเสาไว้ เพื่อรับเครนเหนือศีรษะ ทุกประการเช่นเดียวกับเครนสนามขาสูง 2 ข้าง แบบคานเดี่ยว และลักษณะเช่นเดียวกับเครนเหนือศีรษะแบบคานคู่ ที่มีความเหมาะสมกับโรงงานอุตสาหกรรม ที่ใช้งานยกน้ำหนักที่หนักมาก ควรมีความกว้างใช้งานตั้งแต่ 10-30 เมตร และควรมีน้ำหนักยกตั้ง แต่ 5 ตัน ถึง 50 ตัน เป็นมาตรฐาน
3. เครนสนามขาสูงข้างเดียว (Semi Gantry Cranes)
เหมาะสมใช้บนพื้นที่กลางแจ้ง โดยติดตั้งรางวิ่งชั้นบนไว้ที่เสาด้านข้าง-นอกตัวอาคารโรงงาน หรือใช้ติดตั้งในร่ม โดยติดตั้งรางวิ่งชั้นบนไว้ที่เสา ด้านข้าง-ในตัวอาคารโรงงาน หรือผู้ใช้งานสามารถออกแบบเครนในโรงงานเป็น 2 ระดับได้อีกด้วย โดยใช้ติดตั้งใต้ชุดเครนเหนือศีรษะเพื่อทำงานเฉพาะเครื่องจักร หรือใช้งานกับพื้นที่ในอาคารโรงงาน ด้านใดด้านหนึ่ง หรือติดตั้งไว้ทั้ง 2 ฝั่ง ของตัวอาคารโรงงานเดียวกันก็ได้
เหมาะสมใช้ติดตั้งบนพื้นที่กลางแจ้ง และในร่มภายในตัวอาคารโรงงาน มีคุณสมบัติทุกประการเช่นเดียวกันกับเครนสนามขาสูงขาเดียวแบบคานเดี่ยว และกรณีที่ต้องการออกแบบคานคู่ เพราะส่วนมากผู้ใช้งานต้องการประสิทธิภาพ ในการยกวัตถุ และสินค้าที่หนักกว่า และพื้นที่ใช้งานในพื้นที่ที่กว้างกว่า
จะเห็นได้ชัดๆเลยว่าโครงสร้างเครนไฟฟ้าแบบคานเดี่ยวและแบบคานคู่แตกต่างกันตรงที่ ความกว้างของการใช้งานและน้ำหนักของการยก ซึ่งโครงสร้างเครนไฟฟ้าแบบคานเดี่ยวจะเหมาะสำหรับการยกงานที่น้ำหนักไม่หนักมาก และโครงสร้างเครนไฟฟ้าแบบคานคู่จะเหมาะสำหรับการยกงานที่น้ำหนักที่หนักมากเพราะว่าคานคู่ออกแบบมาให้รับน้ำหนักมากกว่าและมีความกว้างของการใช้งานที่กว้างกว่า หวังว่าจะให้ความรู้แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ และทางบริษัทของเรา รับออกแบบเครนและติดตั้งเครนโรงงาน รอกโซ่ไฟฟ้า และระบบช่วยยกทุกประเภท โดยวิศวกรและช่างชำนาญการ หากท่านใดสนใจสามารถติดต่อเราได้ที่
บริษัท ย่งฮง (ประเทศไทย) จำกัด