[vc_row][vc_column][vc_column_text]

AODD PUMP หรือที่เรียกว่า ไดอะแฟรมปั๊ม คือ ปั๊มอะไรกันนะ PART 2

จากในครั้งที่แล้วที่เราได้ไปทำความรู้จักกับ ปั๊มสูบจ่ายสารเคมีอย่าง AODD PUMP หรือที่เรียกว่า ไดอะแฟรมปั๊ม กันไปแล้วในบทความของ Part 1 (คลิกที่นี่เพื่อไปยังบทความก่อนหน้า) ในครั้งนี้เราจะพามาทำความรู้จักส่วนประกอบภายในตัวเครื่อง นั้นก็คือ ประเภทของวัสดุของแผ่นยางไดอะแฟรม ว่าแต่ละประเภทเหมาะสมกับสารเคมีใดบ้าง เพื่อที่จะสามารถเลือกนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม

[/vc_column_text][vc_column_text]และนอกจากจะมีแผ่นยางไดอะแฟรมเป็นส่วนประกอบของไดอะแฟรมปั๊มแล้ว ยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ ที่สำคัญที่เราควรรู้ เพื่อทำความเข้าใจถึงหลักการทำงานของไดอะแฟรมปั๊มเพิ่มกันมากขึ้น ดังนี้

  1. แผ่นยางไดอะแฟรม ( Diaphragm) ทำหน้าที่ในการส่งถ่ายกำลังกันระหว่างห้องน้ำมันและห้องของไหล
  2. เช็ควาล์ว (Check Valve) ทำหน้าที่แรงดันภายในตัวเครื่อง โดยแบ่งเป็น 2 ตำแหน่ง คือทางที่เป็นทางดูด (Suction) และอีกทางเป็นทางจ่าย ( Discharge)
  3. ลูกสูบ (Plunger) ทำหน้าที่ในการส่งถ่ายกำลังจากชุดมอเตอร์และเกียร์ไปยังห้องชุดนั้น เพื่อทำการส่งกำลังภายในตัวเครื่อง
  4. วาล์วระบายอากาศ (Air release valve) ทำหน้าที่ไล่อากาศออกจากห้องน้ำมัน
  5. วาล์วเติมเต็ม (Replenishing valve) ทำหน้าที่ควบคุมไม่ให้เกิดสภาวะ Overload และทำหน้าที่ระบายแรงดันจำนวนหนึ่งออกไปในทางขาดูด
  6. วาล์วตั้งค่าแรงดัน (pressure limiting valve) ทำหน้าที่ตั้งค่าแรงดันของตัวเครื่อง ซึ่งเมื่อตัวเครื่องทำการอัดจะทำการอัดได้แค่ความดันที่ตั้งค่าไว้

เมื่อเราได้เรียนรู้ถึงส่วนประกอบหลักต่าง ๆ ภายในตัวปั๊มไดอะแฟรมกันไปแล้ว ในเนื้อหาส่วนต่อไป แอดมินจะพาไปรู้จักกับประเภทวัสดุของแผ่นยางไดอะแฟรมกัน[/vc_column_text][vc_column_text]

ประเภทวัสดุของแผ่นยางไดอะแฟรม

            แผ่นยางไดอะแฟรมเป็นส่วนประกอบหลักของไดอะแฟรมปั๊ม ที่มีลักษณะการทำงานที่ต้องดูด-อัดของเหลวแบบสโตรก ดังนั้นแผ่นยางไดอะแฟรมที่นำมาใช้ ก็ต้องมีคุณสมบัติที่ยืดหยุ่น และสามารถทนต่อสารเคมีแต่ละประเภทนั้น ๆด้วย ดังต่อไปนี้

  1. ประเภทไวตัน ( Viton) เป็นยางสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติเด่นทนทานต่อความเป็นกรดด่างหรือสารเคมีที่มีฤทธิ์ฤทธิ์กัดกร่อนได้ดี สามาถใช้ได้กับน้ำมันและสารเคมีทุกชนิด ทนต่ออุณหูมิได้ตั้งแต่ – 40 °C ถึง6 °C
  2. ประเภทเทฟลอน (PTFE) หรือชื่อที่เรียกทางเคมี ว่าโพลิเตตราฟลูออโรเอทิลีน (Polytetrafluoroethylene) เป็นพลาสติกประเภทหนึ่งที่มีความหนาแน่นสูง ทนต่อความร้อนและการสึกกร่อนได้ดี เหมาะกับการนำมาใช้กับสารเคมีที่มีความเป็นกรด-ด่าง หรือสารละลาย
  3. ประเภท Santoprene หรือ TPV (Thermoplastic Vulcanization) เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากการผสมกันระหว่างพลาสติกและยาง มีน้ำหนักเบา ทนต่อกรดด่างและสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน สามารถทนอุณหภูมิได้ตั้งแต่ -28.9 ˚C ถึง 4 ˚C
  4. ประเภท Hytrel เป็นพลาสติกประเภทหนึ่งที่มีความหยืดหยุ่นสูง ถูกนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอเมริกาและญี่ปุ่น มีคุณสมบัติทนต่อเคมี และน้ำมันได้ดี ในอุณหภูมิ ตั้งแต่ -28.9 ถึง -104.4 ˚C ทนต่อแรงกระแทกได้ดี ไม่สึกกร่อนได้ง่าย

[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]