[vc_row][vc_column][vc_column_text]
น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัชกาลที่ ๙
[/vc_column_text][vc_column_text]เนื่องในวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เป็น วันสำคัญของชาติ ของคนไทยทั้งประเทศ ที่มีความสำคัญ ถึง 3 วาระ ดังนี้
- วันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- วันชาติ
- วันพ่อแห่งชาติ
[/vc_column_text][vc_column_text]วาระทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่”พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร” พระราชทานต่อประเทศชาติและประชาชนเสมอมา[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row][vc_column][vc_column_text]
พระราชกรณียกิจสำคัญรัชกาลที่ ๙
[/vc_column_text][vc_row_inner][vc_column_inner][vc_single_image image=”747334″ img_size=”full” alignment=”center”][/vc_column_inner][/vc_row_inner][vc_column_text]
- โครงการฝนหลวง โครงการฝนหลวง ที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่แห้งแล้งทุรกันดารกว่า 15 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงรับทราบถึงความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎรและเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงกรุงเทพฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล วิศวกรและนักประดิษฐ์ควายเหล็กที่มีชื่อเสียงเข้าเฝ้าฯ แล้วพระราชทานแนวความคิดนั้นแก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล โดยมีทฤษฎีต้นกำเนิดจากแนวคิด “หลักการแรกคือ ให้โปรยสารดูดซับความชื้น (เกลือทะเล) จากเครื่องบิน เพื่อดูดซับความชื้นในอากาศ แล้วใช้สารเย็นจัด(น้ำแข็งแห้ง) เพื่อให้เกิดความชื้นกลั่นตัวและรวมตัวเป็นเมฆ” จากทฤษฎีดังกล่าวพระองค์ยังใช้เวลาในการคิดค้นทดลองนานอีกกว่า 14 ปี ในการวิเคราะห์วิจัยเพื่อประกอบการค้นคว้าทดลองมาโดยตลอด จากการดำเนินการลองผิดลองถูกจนประสบความสำเร็จมาถึงทุกวันนี้
- โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาน้ำเสียที่เกิดขึ้น และทรงห่วงใยต่อพสกนิกรที่ต้องเผชิญกับปัญหานี้ หลังจากทรงทอดพระเนตรสภาพน้ำเสียพื้นที่หลายแห่งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จึงพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ไขน้ำเน่าเสีย ในระยะแรกระหว่างปี 2527-2530 ทรงแนะนำให้ใช้น้ำที่มีคุณภาพดีช่วยบรรเทาน้ำเสีย และวิธีกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวาและพืชน้ำต่าง ๆ สามารถแก้ไขปัญหาได้ในระดับหนึ่ง แต่ปัญหาน้ำเสียไม่มีทีท่าว่าจะทุเลาลงกลับมีแนวโน้มอัตราความรุนแรงมากยิ่งขึ้น การใช้วิธีธรรมชาติไม่อาจบรรเทาความเน่าเสียของน้ำได้เท่าที่ควร พระองค์ท่านจึงพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศแบบประหยัดค่าใช้จ่ายที่ผลิตได้เองในประเทศ ซึ่งมีรูปแบบ “ไทยทำไทยใช้” โดยทรงได้แนวทางจาก “หลุก” ซึ่งเป็นอุปกรณ์วิดน้ำเข้านาที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นจุดคิดค้นเบื้องต้น และทรงมุ่งหวังที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการบรรเทาน้ำเน่าเสีย จากนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณเพื่อการศึกษาและวิจัยสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ โดยดำเนินการจัดสร้างเครื่องมือบำบัดน้ำเสียร่วมกับกรมชลประทาน ซึ่งได้มีการผลิตเครื่องกลเติมอากาศขึ้นในเวลาต่อมา และรู้จักกันแพร่หลายทั่วประเทศในปัจจุบันคือ “กังหันน้ำชัยพัฒนา”
- โครงการแกล้งดิน โครงการแกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวในพื้นที่ จ.นราธิวาส และพื้นที่ใกล้เคียง ให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ทำการศึกษาวิจัยและปรับปรุงดินโดยวิธีการ “แกล้งดิน” คือทำให้ดินเปรี้ยวเป็นกรดจัดรุนแรงที่สุด ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกโดยนำน้ำเข้าแปลงทดลองระยะหนึ่ง และระบายน้ำออกให้ดินแห้งระยะหนึ่งสลับกัน จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดกรดมากยิ่งขึ้น ด้วยหลักการนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงให้เลียนแบบสภาพธรรมชาติ ซึ่งมีฤดูแล้งและฤดูฝนเป็นปกติในแต่ละปี แต่ให้ใช้วิธีการร่นระยะเวลาช่วงแล้งและช่วงฝนในรอบปีให้สั้นลง โดยปล่อยให้ดินแห้ง1 เดือน และขังน้ำให้ดินเปียกนาน 2 เดือน สลับกันไป เกิดภาวะดินแห้งและดินเปียก 4 รอบ/1 ปี เสมือนกับมีฤดูแล้งและฤดูฝน 4 ครั้ง ใน 1 ปี หลังจากนั้นจึงให้หาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้
- ทฤษฎีใหม่เศรษฐกิจพอเพียง ถือเป็นโครงการที่ประชาชนให้ความสนใจและนำไปปฏิบัติใช้อย่างมาก เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยเป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในขั้นต้น โดยการทำเกษตรทฤษฎีใหม่นี้แบ่งออกเป็น 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นต้นคือ การแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตรา 30-30-30-10 เพื่อขุดเป็นสระกักเก็บน้ำร้อยละ 30 ปลูกข้าวในฤดูฝนร้อยละ 30 ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผักสมุนไพร ร้อยละ 30 และเป็นที่อยู่อาศัยอีกร้อยละ 10 ขณะเดียวกันเป้าหมายของทฤษฎีใหม่เศรษฐกิจพอเพียง คือต้องการให้ประชาชนบริหารจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสมเกิดประโยชน์ตามแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง
[/vc_column_text][vc_column_text]ขอบคุณข้อมูลจาก
pptvhd36.com
POSTTODAY[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]