ความแตกต่างของการเลือกใช้ ปั๊มน้ำ pump ตามบ้านกับปั๊มน้ำตามโรงงาน ต่างกันอย่างไร
ขึ้นชื่อว่า ปั๊มน้ำ ในปัจจุบัน มักมีหลากหลายรูปแบบ หลากหลายขนาด หลากหลายประเภท ตามความต้องการของตลาด ซึ่งปั๊มน้ำแต่ละแบบ ก็จะขึ้นกับหน้างานด้วยว่า นำไปใช้กับในหน้างานแบบไหน วันนี้แอดมิน ก็เลยจะ ขอนำเสนอบทความ เกี่ยวกับวิธีการเลือกใช้ปั๊มน้ำ ในหน้างานที่ต่างกัน ในหัวข้อ ความแตกต่างของการเลือกใช้ปั๊มน้ำตามบ้านกับปั๊มน้ำตามโรงงาน ต่างกันอย่างไร มาฝากกันในบทความนี้ค่ะ ปั๊มน้ำ เป็นอุปกรณ์ส่งน้ำหรือ ถ่ายเทของเหลวจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อเพิ่มแรงดันของน้ำ มีลักษณะการทำงาน ออกเป็น 2 แบบ คือ ปั๊มน้ำแบบหอยโข่ง และ ปั๊มสูบจ่ายน้ำ โดยมีมอเตอร์ไฟฟ้าทำหน้าที่ หมุนส่งให้ตัวปั๊มทำงาน
ปัจจัยที่ทำให้ปั๊มน้ำ มีความสำคัญ ต่อบ้านและโรงงาน
ถึงแม้ว่า ในทุก ๆ บ้าน และทุก ๆ โรงงาน จะมีการใช้น้ำประปาเป็นประจำและเป็นปกติอยู่แล้ว แต่ถ้าหากขาด ปั๊มน้ำ ก็จะส่งผลให้ การใช้น้ำ ใช้งานได้อย่างไม่เต็มที่ เพราะปั๊มน้ำ ก็เป็นเครื่องมือ เครื่องมือหนึ่งที่ช่วยใช้น้ำ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการเลือกปั๊มน้ำสำหรับหน้างานที่จะนำไปใช้งานจึงสำคัญมากๆ เพื่อลดปัญหาการใช้งานปั๊มน้ำที่จะตามมา
ความแตกต่างระหว่างการเลือกใช้ปั๊มน้ำ
ปั๊มน้ำตามบ้าน การเลือกใช้ปั๊มน้ำตามบ้าน ก่อนที่เราจะเลือกขนาด หรือ ประเภทของปั๊มน้ำ เราจะรู้ถึงข้อมูลพื้นฐานของบ้านเรา ก่อนนะคะ ซึ่งข้อมูลที่เราต้องรู้ก็คือ- จำนวนของชั้นในตัวบ้าน จุดที่ใช้น้ำมากที่สุด เช่น ฝักบัวอาบน้ำชั้นบนสุด
- จำนวนห้องน้ำทั้งหมด จำนวนก๊อกน้ำที่ใช้
- มีโอกาสใช้น้ำพร้อมกันกี่จุด
- ตำแหน่งที่จะติดตั้งปั๊มน้ำ
- ปริมาณน้ำ
- จำนวนแรงม้า
- ขนาดของท่อดูดและท่อส่งกี่นิ้ว
- ระบบไฟ
- ระยะทางของการส่งน้ำ
- ชนิดของของเหลวที่ต้องการสูบ เพราะในโรงงานในอุตสาหกรรมไม่ได้มีเพียงแค่การสูบน้ำประประปาปกติ แต่มีการปะปนมาพร้อมกับของเหลวชนิดต่างๆด้วย ดังนั้น เราต้องดูว่า ปั๊มน้ำที่เลือกมาสูบจ่าย มีลักษณะทนต่อความเหลวชนิดใดบ้าง ทนอุณหภูมิได้เท่าใด ทนต่อความค่าความหนืดได้แค่ไหน
- อัตราการไหลของการสูบน้ำ หรือในหลายๆที่ อาจจะเรียกค่านี้ FLOW RATE ซึ่งแต่ละโรงงานก็จะใช้แรงในการสูบน้ำมากน้อยแตกต่างกัน หากแรงสูบน้อยแต่เลือกปั๊มที่แรงสูบเยอะเกินไป ก็จะเปลืองไฟ หรือถ้าต้องการแรงสูบเยอะ แต่เลือกใช้ปั๊มแรงสูบน้อย การทำงานของปั๊มน้ำก็จะไม่เต็มที่
- อัตราการส่งสูงของน้ำ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า ค่า Head เป็นอีกค่าที่เราต้องรู้ เพื่อคำนวณด้วยว่า แรงดันของความสูง มีมากน้อยแค่ไหน ต้องเลือกปั๊มที่มีขนาดแรงดันเท่าไหร่
- ความเร็วของปั๊ม และระบบท่อที่อยู่ภายในโรงงาน