ปั๊มน้ำอัตโนมัติเป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อสูบน้ำโดยไม่ต้องใช้มือ โดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนประกอบต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อเคลื่อนย้ายน้ำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งอย่างมีประสิทธิภาพ การทำงานของปั๊มน้ำอัตโนมัติอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะรูปแบบของปั๊มน้ำนั้นๆ โดยหลักการทำงานเบื้องต้นสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทมีดังนี้:
1. ปั๊มน้ำอัตโนมัติแบบมีถังแรงดัน (Automatic Water Pump with Pressure Tank) โดยปั๊มชนิดนี้จะมีหลักการทำงานคือมีถังแรงดันอยู่ด้านล่างของตัวปั๊ม ใช้แรงดันจากอากาศที่อยู่ในถังทำให้น้ำไหลแรงขึ้น เป็นการทำงานระหว่างอากาศกับปริมาณน้ำ เมื่อมีการเปิดใช้น้ำ ปั๊มจะดูดน้ำเข้ามาพักเก็บเอาไว้ที่ถังเหล็ก (หรืออาจจะเป็นถังที่ทำจากสแตนเลสในบางรุ่น) เพื่อเข้าไปอัดแน่นกับอากาศในถัง (โดยปริมาณจะประมาณครึ่งหนึ่งของตัวถังแรงดัน) ทำให้เกิดแรงดันขึ้นมาในถังแรงดัน ดังนั้นน้ำและอากาศที่ถูกอัดรวมกันก็จะถูกปล่อยออกมาสู่ภายนอก ไปยังจุดบริเวณที่ต้องการใช้น้ำ เช่น ปั๊มน้ำอัตโนมัติ Mitsubishi รุ่น UMCH Series
2. ปั๊มน้ำอัตโนมัติแรงดันคงที่ (Constant Pressure Water Pump) โดยปั๊มชนิดนี้จะมีหลักการทำงานแบบไม่มีถังแรงดันอยู่ด้านล่าง เป็นรูปแบบการทำงานที่เมื่อมีการใช้น้ำปั๊มจะทำงานทันทีโดยมีถังโลหะขนาดเล็กๆ ที่บรรจุก๊าซไนโตรเจน โดยเรียกว่า Nitrogen Tank หรือ Bladder Tank สำหรับใช้สร้างแรงดันแทน เป็นการทำงานระหว่างก๊าซไนโตรเจนกับปริมาณน้ำ ก๊าซไนโตรเจนจะถูกอัดอยู่ภายในของถังทรงกระบอกอย่างถาวร โดยจะมียางไดอะแฟรม (Diaphragm) คั่นกลางเอาไว้ระหว่างน้ำกับก๊าซไนโตรเจน ที่จะคอยสร้างแรงดันในปั๊มอย่างต่อเนื่องให้ปั๊มทำงานได้ ส่งผลทำให้ระบบน้ำไหลได้อย่างสม่ำเสมอ โดยปริมาณน้ำที่ไหลออกมาจะมีความคงที่ (ถ้าเป็นระบบน้ำอุ่น ระดับความร้อนของน้ำที่ใช้ก็จะมีระดับคงที่ตลอดเวลาการใช้) ข้อดีของก๊าซไนโตรเจน คือ ทนต่อความร้อนได้ดี และมีแรงดันที่เสถียรกว่าอากาศธรรมดาทั่วไป ที่อยู่ในรูปแบบของปั๊มแบบมีถังแรงดัน เช่น ปั๊มน้ำอัตโนมัติแรงดันคงที่ MITSUBISHI รุ่น EP Series, MITSUBISHI รุ่น CP Series
การทำงานของปั๊มน้ำทั้ง 2 ประเภท โดยหลักๆทำหน้าที่ในการสูบจ่ายน้ำเหมือนกัน แตกต่างกันที่หลักการทำงานของปั๊มที่สูบน้ำเพื่อจ่ายน้ำออกสู่บริเวณที่ต้องการใช้งาน ปั๊มน้ำอัตโนมัติแบบมีถังแรงดัน เป็นการทำงานระหว่างอากาศกับปริมาณน้ำ ส่วนปั๊มน้ำอัตโนมัติแรงดันคงที่ เป็นการทำงานระหว่างก๊าซไนโตรเจนกับปริมาณน้ำ
สามารถรับชมเพิ่มเติมได้ : YONGHONG