เครน(Crane)มีกี่ประเภท ใช้งานกับอะไรได้บ้าง?

เครนมีกี่ประเภท ใช้งานกับอะไรได้บ้าง?

ในการเคลื่อนย้ายสินค้านั้นหรือก่อสร้างที่ต้องยกสินค้าหนักๆนั้นก็ต้องนึกถึง “เครน” Crane แน่นอนว่าหลายๆคนคงจะเคยได้ยินหรือเคยเห็นกันมาแล้ว แต่ทราบหรือไม่ว่า เครนที่เราเห็นอย่างคุ้นตานั้น มันมีอยู่กี่ประเภท แล้วแต่ละประเภทใช้งานในลักษณะอะไร เลือกใช้เครนอย่างไรให้เหมาะสมกับประเภทของงาน
เครน Crane คือเครื่องจักรที่ใช้สำหรับในการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือเรียกว่าการยกสินค้า ขึ้นลงเป็นแนวดิ่ง เคลื่อนที่ไปมาโดยรอบ หรือตามทิศทางที่ได้กำหนดไว้
โดยการออกแบบเครนนั้น จะใช้คานตรงกลางของเครนเป็นที่รับน้ำหนัก ในการยกสินค้า ที่มีการออกแบบมาให้แข็งแรง และมีความปลอดภัยสูงต่อการใช้งาน
โดยปกติแล้วมักจะใช้งานตาม โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ หรือขนส่งสินค้าอุตสาหกรรมจะใช้ในรูปแบบของเครน เป็นตัวแบ่งประเภทของเครน ตามลักษณะของเครนที่ได้รับน้ำหนักซึ่งประเภทของเครน ถูกแบ่งได้ดังนี้

1.Monorail (โมโนเรล)

ใช้สำหรับเคลื่อนย้ายสินค้าที่มีการเคลื่อนที่ 4 ทิศทาง คือ ขึ้น-ลง ซ้าย-ขวา ซึ่งสามารถทำได้ทั้งรางตรงและรางโค้ง เป็นเครนรางเดี่ยวชนิดหนึ่ง ตัวรางจะ Fix อยู่กับรอก (HOIST) การออกแบบโครงสร้าง ต้องคำนึงถึงการรับแรงในแนวนอน เนื่องจากการเคลื่อนที่ของรอก เป็นแรงที่ทำให้เกิดการสั่นและการเสริมค้ำยัน จะช่วยลดการสั่นได้เป็นอย่างดี
เครนรูปแบบนี้เป็นแบบติดตั้งเคลื่อนที่ตามรางวิ่ง ที่ติดตั้งตามสภาพโครงสร้างของกระบวนการผลิต ตัวรางสามารถออกแบบเป็นเส้นตรงหรือคดโค้งตามสภาพของพื้นที่ที่ต้องการทำงานได้เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานที่ต้องการใช้เครนเพื่อให้ผ่านแค่บางพื้นที่
เครนสามารถหยุดในแต่ละสถานที่ได้และรางเลื่อนไฟฟ้าที่เหมาะสำหรับใช้ในงานยกวัตถุที่

มีน้ำหนักประมาณ 500-3,000 กิโลกรัม (0.5-3 ตัน)

Monorail (โมโนเรล)

Monorail 480x320 1
crane 300x224 1
Monorail 1 240x320 1
monorail 300x300 1
เป็นเครนที่มีการเคลื่อนที่ 4 ทิศทาง คือ ขึ้น-ลง ซ้าย-ขวา แต่มีข้อพิเศษ คือ มีแขนที่สามารถหมุนเป็นรัศมีวงกลมได้ทำให้เพิ่มพื้นที่ในการจัดวางสิ่งของได้มากขึ้น ซึ่งเครนแขนหมุน  มีทั้ง 2 แบบ คือ แบบตั้งพื้น และแบบติดผนัง ออกแบบมาสร้างให้เหมาะสมสำหรับการใช้ยกวัตถุงานหรือสินค้าเฉพาะพื้นที่รอบวงรัศมีความยาวของวงแขนที่ยื่นหมุนของชุดเครน เหมาะกับอุตสาหกรรมขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ที่ใช้กำลังการยกไม่หนักมาก และใช้ระยะยกที่สูงไม่เกิน 5 เมตร และหมุนได้180-360 องศา เป็นมาตรฐานโครงสร้างของเสารับน้ำหนักได้ดีแข็งแรง ทนทานต่อแรงกดและแรงดึงถอนได้เป็นอย่างดี สามารถใช้งานร่วมกับรอกโซ่ไฟฟ้าคุณภาพสูงได้ทุกชนิด
JLB CRANE 300x215 1
jlb 300x235 1
ใช้สำหรับการเคลื่อนย้ายสินค้าที่มีการเคลื่อนที่ 6 ทิศทาง คือ ขึ้น-ลง ซ้าย-ขวา และหน้า-หลัง มีทั้งแบบคานคู่ และคานเดียวขึ้นอยู่กับขนาด (Capacity) และความกว้างของเครน (Span) เป็นที่นิยมใช้กันมากในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีโครงสร้าง รองรับเครนที่แข็งแรง โอเวอร์เฮดเครนที่มักนิยมใช้กันในประเทศไทยจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบได้แก่ เครนเหนือศีรษะ แบบคานคู่ (Double Girder) และ เครนเหนือศรีษะ แบบคานเดี่ยว (Single Girder)

 เครนเหนือศีรษะ แบบคานคู่

คานคู่จะเหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดที่ต้องใช้การยกเคลื่อนย้ายวัตถุที่มีน้ำหนักมากกว่า 5 ตัน ไปจนถึง 50 ตัน โดยเครนโรงงานแบบคานคู่จะเหมาะกับโรงงานที่มีขนาดใหญ่ และตัวโรงงานจำเป็นต้องมีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตร ไปจนถึง 30 เมตร โดยลักษณะการทำงานเครนแบบคานคู่ ออกแบบและติดตั้งจะคล้ายกับแบบคานเดี่ยวต่างกันตรงคานกลางจะเป็นแบบคู่ ทำให้เครนเหนือศรีษะแบบคานคู่จะสามารถยกน้ำหนักได้ดีกว่าแบบคานเดี่ยว ปลอดภัยต่อการใช้งานเมื่อยกวัสดุที่มีน้ำหนักมาก โดยบางโรงงานอุตสาหกรรมอาจเลือกใช้เป็นเครนโรงงาน 5 ตัน หรือเครนโรงงาน 10 ตัน เป็นต้น

เครนเหนือศีรษะ แบบคานเดี่ยว

เป็นเครนไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโรงงานอุตสาหกรรม มักใช้กันโรงงานที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก ความกว้างของโรงงานไม่เกิน 22 เมตร โครงสร้างโรงงานที่เหมาะสมกับการติดตั้ง ควรถูกออกแบบให้พื้นที่ภายในโล่งตลอด ไม่มีเสาเกะกะและโครงสร้างควรมีเสาขนาดใหญ่โดยรอบ เพื่อให้สามารถรับน้่าหนักคานเหล็กและทางวิ่งของเครน ที่จะยึดกับส่วนบนของโรงงานได้ เครนเหนือศีรษะแบบคานเดี่ยวจะเหมาะกับการใช้ยกของที่ไม่หนักมาก โดยมาตรฐานแล้วจะอยู่ที่ 1 ตัน ไปจนถึง 12.5 ตัน การทำงานของเครนจะมี 2 จังหวะ คือจังหวะช้ากับจังหวะเร็ว

 4.Gantry Crane

เครนขา เป็นลักษณะชนิดหนึ่งของเครนที่มีการเคลื่อนที่ 6 ทิศทาง แต่จะมีขาสำหรับวิ่งบนพื้น เหมาะสำหรับใช้งานภาคสนามหรืองานกลางแจ้งที่ไม่มีโครงสร้างของตัวอาคาร มีทั้งแบบที่เป็นรางเดี่ยวและรางคู่ เหมาะสำหรับโรงงานที่ไม่ได้เตรียมโครงสร้างเสาไว้เพื่อรับเครนเหนือศีรษะ ซึ่งมีความจำเป็นต้องติดตั้งเครนขา

นอกจากนี้ การเลือกประเภทของเครนยกของหรือเคลื่อนย้ายสินค้าเพื่อการใช้งานนั้น บางชนิดสามารถทำงานได้หลายอย่าง บางชนิดก็ทำงานได้อย่างเดียว และอาจต้องใช้คู่กับเครื่องจักรอื่นๆ เช่น รอก หรือ ลิฟท์บรรทุกสินค้า จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ประเภท ลักษณะต่างๆ ของเครน เพื่อที่จะสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้กับงานนั้นๆ ด้วย
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเครนยกของหรือเครนเคลื่อนย้ายสินค้าในรูปแบบต่างๆ
ซึ่งทีมงาน “ย่งฮ่ง  yonghong ยินดีให้บริการหากสนใจสินค้าเรามีจำหน่าย “ยงฮ่ง” ยินดีรับใช้

สนใจสินค้าหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม