การเลือกใช้ ปั๊มน้ำเกษตรกรรม (Agricultural water pump) จำเป็นต้องมีหลักการเลือกใช้ปั๊มน้ำที่ดี เพื่อที่จะสามารถเลือกสมรรถนะของปั๊มให้สอดคล้องกับความต้องการของการใช้งานได้ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องเลือกใช้ปั๊มน้ำแบบใด ได้ในบทความนี้เรามีคำตอบครับ
ปั๊มน้ำเกษตรกรรม มีให้เลือกใช้อยู่ 2 แบบ
ปั๊มน้ำที่นิยมใช้ในงานเกษตรกรรม สำหรับใช้ส่งจ่ายน้ำหรือเพื่อเพิ่มแรงดันน้ำ ในปัจจุบันมีให้เลือกใช้อยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ
- ปั๊มน้ำแบบที่ใช้มอเตอร์ (ไฟฟ้า)
- ปั๊มน้ำแบบใช้เครื่องยนต์ (น้ำมัน)
ซึ่งปั๊มน้ำแบบที่ใช้มอเตอร์ ในงานเกษตรกรรมมักนิยมใช้เป็น “ปั๊มน้ำหอยโข่ง” ที่มีการขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสม ทั้งระบบไฟแบบ Single Phase (220 โวลต์) และ Three Phase (380 Volt) และปั๊มน้ำแบบที่ใช้เครื่องยนต์ ก็จะมีให้เลือกใช้อีก 2 แบบ ปั๊มน้ำติดเครื่องยนต์เบนซิน ที่มีขนาดของแรงม้าเฉลี่ย 5-7HP และ ปั๊มน้ำติดเครื่องยนต์ดีเซล ที่มีขนาดของแรงม้าเฉลี่ย 8-12HP ปั๊มน้ำรูปแบบนี้จะเหมาะกับงานสูบจ่ายน้ำที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง
ตัวอย่างการออกแบบระบบน้ำเพื่อใช้ในงานเกษตรกรรม
ขอบคุณภาพจาก https://www.kasetkawna.com/
แต่ไม่ว่าจะเลือกใช้ปั๊มน้ำรูปแบบใด 2 ส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ ที่เราต้องพิจารณาก็คือ อัตราการไหลของน้ำ (Q) ที่เป็นส่วนของปริมาณน้ำที่ต้องจ่ายในแต่ละครั้ง และ อัตราของแรงส่งน้ำ (H) ที่เป็นส่วนของความสูงในการส่งน้ำ ซึ่งทั้งสองส่วนนี้จะเป็นตัวกำหนดกำลังส่งของปั๊มน้ำนั้นๆ โดยมี หน่วยเป็น วัตต์(W)กิโลวัตต์(KW) หรือแรงม้า(HP)
ขอบคุณภาพจาก http://www.pakwanban.com/
ยกตัวอย่างเช่น เนมเพลต (Name plate) ที่ติดมากับมอเตอร์ของปั๊มน้ำระบุไว้ว่า ค่า Q = 300-950 ลิตรต่อนาที และ H = 12– 6 เมตร นั่นหมายความว่า ถ้าปั๊มน้ำมีแรงส่งสูงไม่เกิน 6 เมตร จะสามารถสูบจ่ายปริมาณน้ำได้ 950 ลิตรนาที แต่หากปั๊มน้ำมีแรงส่งสูง 12 เมตร จะสามารถสูบจ่ายปริมาณน้ำได้ 300 ลิตรต่อนาที ดังนั้น ถ้าต้องการสูบจ่ายน้ำในปริมาณมาก ค่า Q จะต้องสูงกว่า ค่า H แต่ถ้าต้องการสูบจ่ายน้ำ ให้ได้แรงส่งที่สูง ค่า H จะต้องสูงกว่า ค่า Q
ข้อควรรู้เพิ่มเติมในการเลือกใช้ปั๊มน้ำ
1.ความเร็วรอบของมอเตอร์ ในปั๊มน้ำที่มีกำลังเท่ากัน ควรเลือกมอเตอร์ของปั๊มที่มีรอบการหมุนที่ต่ำ เพื่อให้ตัวปั๊มลดความเสี่ยงที่จะสึกหรอหรือเสื่อมเร็วเกินไป รอบการหมุนของมอเตอร์ มีหน่วยเป็น รอบต่อนาที (RPM)
2.ชั้นของฉนวนกันความร้อน ( Insulation class) เป็นตัวแสดงถึง อุณหภูมิสูงสุดที่มอเตอร์จะทนได้
3.ระดับการป้องกันฝุ่นละอองและน้ำ (Protection Degree IP) โดยจะบอกเป็น IP และตามด้วยเลข 2 หลัก โดยหลักแรกจะบอกถึงระดับการป้องกันฝุ่น และ หลักที่สองจะบอกถึงระดับการป้องกันน้ำ โดยทั่วไปจะมีระดับป้องกันสูงสุดที่ IP55
4.ต้องรู้รายระเอียดพื้นฐานของปั๊มน้ำที่ต้องการใช้ คือ ปริมาณน้ำ แรงดันน้ำ ระยะทางส่งน้ำ และขนาดของมอเตอร์ที่ต้องการใช้
5.ประเภทของปั๊มน้ำ จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า การเลือกใช้ ปั๊มน้ำเกษตรกรรม ให้ได้ความเหมาะสมตามที่ต้องการนั้น ไม่ใช่แค่การเลือกรูปแบบของปั๊มน้ำที่เหมาะสม แต่เราต้องคำนึงถึงความสามารถของตัวปั๊มด้วยว่า ปั๊มสามารถสูบจ่ายน้ำได้ใน ปริมาณน้ำที่ต้องการสูบจ่าย หรือแรงส่งของน้ำที่เราต้องการได้หรือไม่ โดยพิจารณาค่า Q และค่า H และข้อมูลอื่นๆ อย่างเช่น ความเร็วรอบของมอเตอร์ ฉนวนกันความร้อน และ ระดับการป้องกันฝุ่นละอองและน้ำ เพื่อให้ได้ปั๊มน้ำที่มีประสิทธิภาพและช่วยให้สามารถใช้งานได้ยาวนานยิ่งขึ้นอีกด้วย หากสนใจ ปั๊มน้ำสำหรับใช้ในงานเกษตรกรรม ที่ต้องการแรงส่งสูง ชนิดปั๊มหอยโข่ง ทางบริษัท ย่งฮง (ประเทศไทย) จำกัด มีจัดจำหน่าย ปั๊มน้ำหอยโข่งที่มีคุณภาพ อย่างยี่ห้อ INTERSIGMA SVD Series ปั๊มน้ำหอยโข่งชนิดหลายใบพัด ที่มีจำนวนใบพัดให้เลือกใช้ตามความต้องการ และ ปั๊มน้ำหอยโข่ง VOLUTE ECD Series ปั๊มน้ำแรงเหวี่ยงสูง ได้มาตรฐานยุโรป
“ นึกถึงสินค้าอุตสาหกรรม นึกถึงย่งฮง”