การทำงานของปั๊มหอยโข่งจะต้องประกอบไปด้วยการทำงานร่วมกันของหลายส่วน โดยหนึ่งในองค์ประกอบหรือชิ้นส่วนที่เป็นส่วนสำคัญ คือ ใบพัด โดยใบพัดปั๊มน้ำหอยโข่ง สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ใบพัดแบบปิด (Closed Impeller), ใบพัดแบบกึ่งเปิด (Semi-open Impeller) และ ใบพัดแบบเปิด (Open Impeller) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ใบพัดแบบปิด (Closed Impeller)
- การประปาและระบบสูบน้ำสะอาด
- ระบบสูบน้ำสถานที่พักผ่อนต่าง ๆ
- ระบบชลประทาน
2. ใบพัดแบบกึ่งเปิด (Semi-open Impeller)
เป็นรูปแบบใบพัดที่จะต่างจากใบพัดแบบปิดเพียงเล็กน้อย โดยใช้แผ่นเหล็กประกบใบพัดทำให้เกิดช่องว่าง โดยส่วนของแผ่นเหล็กที่ติดกับครีบใบพัดจะลดลงเหลือ 1 ชิ้น ทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่าใบพัดแบบปิด และสามารถรองรับการไหลของของเหลวที่มีอนุภาคของแข็งปะปนได้บางส่วน รวมถึงรองรับของเหลวที่มีความหนืดได้ด้วย
ตัวอย่างการใช้งาน
- ระบบสูบน้ำสกปรกทั่วไป
- ระบายน้ำเสียที่มีสิ่งปฎิกูลต่างๆที่เจือปน
3. ใบพัดแบบเปิด (Open Impeller)
เป็นรูปแบบใบพัดที่มีเพียงครีบใบพัดอย่างเดียว และไม่มีแผ่นเหล็กยึดจึงเป็นใบพัดแบบเปิด สามารถให้ตะกอนที่มีขนาดใหญ่ขึ้นไหลผ่านได้ แต่ด้วยลักษณะของใบพัดทำให้รับแรงกระแทกจากของเหลวได้น้อยกว่าทั้ง 2 รูปแบบแรก ทำให้ปั๊มเหล่านี้มีขนาดที่เล็กและมีประสิทธิภาพน้อยกว่า ส่งผลทำให้ความถี่ของมอเตอร์ที่ใช้จะต้องมีขนาดที่ลดลง เพื่อป้องกันการแตกหักของใบพัดและเครื่องจะไม่สามารถใช้งานได้
ตัวอย่างงานการใช้งาน
- ระบบโรงงานอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ
- ระบบสูบน้ำเสียจากการทำอาหาร ที่มีเศษอาหารเจือปนน้อยไปจนถึงมาก
- ระบบสูบน้ำเสียศูนย์อาหาร ที่ไม่สามารถควบคุมได้อาจจะมี เศษอาหาร ฝาขวดน้ำ ไหลลงมาที่ปบริเวณใบพัดได้
การเลือกใช้ใบพัดปั๊มน้ำหอยโข่งแต่ละประเภทมีลักษณะที่คล้ายกันกับการเลือกใบพัดในปั๊มน้ำทั่วไป แต่จะต้องเจาะจงรายละเอียดของเหลวที่เราต้องการสูบเป็นพิเศษ โดยต้องดูเพิ่มเติมในเรื่องของอนุภาคของแข็งที่ปะปนมาในของเหลว และความหนืดของของเหลวร่วมด้วย
YOUTUBE : YONGHONG