ปั้นจั่นคืออะไร
ปั้นจั่น หรือ เครน เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการยกสิ่งของหรือวัสดุตามแนวดิ่ง หรือแขวนสิ่งของในลักษณะแนวราบ โดยปั้นจั่นหรือเครนนั้นประกอบด้วย 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นเสาตั้งซึ่งจะต่อด้วยเสาเหล็กขึ้นไปทีละส่วนเพื่อที่จะทำหน้าที่ยกสิ่งของขึ้นไป และอีกส่วนที่เป็นแนวนอนที่จำเป็นจะต้องติดตั้งด้วยเครน เมื่อใช้งานไปในระยะเวลาที่กำหนดจะต้องทำการตรวจสอบปั้นจั่นหรือเครน
การตรวจเช็คเครนและการบำรุงรักษาตามระยะเวลา
การตรวจสอบปั้นจั่นหรือเครนประจำวัน
- ผู้ใช้งานเริ่มทำการตรวจสอบก่อนเริ่มปฏิบัติงาน
- ตรวจเช็คลักษณะภายนอกด้วยตาเปล่าและตรวจสอบการทำงาน
การตรวจสอบปั้นจั่นหรือเครนตามระยะกำหนด
- ต้องตรวจสอบปั้นจั่นหรือเครนตามระยะที่ผู้ผลิตกำหนด
- ระยะการตรวจสอบที่เหมาะสมควรเป็นไปตามความถี่และสภาพแวดล้อมในการใช้งาน
- หัวข้อในการตรวจสอบต้องกำหนดตามความรู้เฉพาะทางเทคนิค
- บันทึกผลการตรวจสอบจะต้องได้รับการเซ็นต์รับรองจากวิศวกร และเก็บไว้ในสถานประกอบการเพื่อเรียกตรวจสอบได้
วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ
- ป้องกันอุบัติเหตุอันเกิดจากการทำงาน
- ป้องกันอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายและทรัพย์สินอันเนื่องมาจากปั้นจั่นชำรุด
- ทำให้แผนการผลิตหรือไลน์การผลิต สามารถดำเนินไปได้ราบรื่นไม่ติดขัด
- ป้องกันปัญหาการหยุดการผลิต อันเนื่องมาจากปั้นจั่นชำรุด
- รักษาประสิทธิภาพและโครงสร้างของปั้นจั่น
- ยืดอายุการใช้งานปั้นจั่นได้นานยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการตรวจสอบปั้นจั่นหรือเคนเรียบร้อย
ข้อควรปฏิบัติก่อนการใช้งานรอก
- ตรวจสอบป้ายคำเตือนต่าง ๆ ของรอกต้องมีติดอยู่กับตัวรอกเสมอ
- ตรวจรอยแตกร้าวโดยรอบของตัวรอก การชำรุด การเรียงตัวของลวดสลิง หรือการฉีกขาดของถุงบรรจุโซ่ในกรณีที่เป็นรอกโซ่ ดูการเคลื่อนที่ของหัววิ่ง Trolley จะต้องไม่สะดุด ไม่ติดขัด วิ่งได้ราบเรียบ และต้องไม่มีเสียงดังผิดปกติออกมาจากตัวรอก
- ตรวจสอบสภาพของตะขอยกน้ำหนัก ดูระยะความกว้างของปากตะขอ ตัวตะขอต้องตรง ไม่ง้าง ไม่บิดเบี้ยว และตะขอยกน้ำหนักต้องหมุนได้รอบ มีความคล่องตัวไม่สะดุดหรือติดขัด ตรวจสภาพของสปริงกันชนจะต้องไม่เสียรูป แตกหรือชำรุด
- ตรวจรอยต่าง ๆ ของลวดสลิงและโซ่ยก เช่น รอยตำหนิ รอยแตกร้าว หารบิดงอ การยืด และควรทำความสะอาด โดยเคลือบด้วยน้ำมันหล่อลื่นเสมอ
- ปุ่มกดควบคุมการทำงานหรือคอนโทรสวิตซ์ของรอกต้องอยู่ในสภาพสมบรูณ์ สามารถใช้งานได้ดี ตัวอักษรชัดเจน ไม่ลอก หรือหลุดหาย สลิงพยุงต้องไม่ขาดหรือชำรุด และที่ตัวสวิตซ์ต้องไม่มีรอยแตกร้าว
- ระบบเบรกของรอกจะต้องใช้งานได้ดี และจะต้องหยุดไม่เกินระยะที่กำหนดในขณะทำงาน
ข้อควรปฏิบัติขณะใช้งาน
- ห้ามใช้งานเกินน้ำหนักที่กำหนด หรือห้ามใช้รอกยกน้ำหนักเฉียงกับตัวรอกมากเกินไป
- หลีกเลี่ยงไม่ให้สลิงหรือโซ่ยก ผ่านหรือปะทะกับวัสดุแหลมคม และห้ามใช้เคลื่อนย้ายคนเป็นอันขาด สามารถยกได้เฉพาะวัสดุหรือสิ่งของ
- ไม่ควรยกขึ้นจนถึงระดับตะขอชนกับถุงโซ่หรือตัวรอก ห้ามใช้ลิมิตสวิตซ์เป็นตัวกันชนเพื่อหยุดรอก เนื่องจากอาจจะทำให้โซ่หรือลวดสลิงขาด ในกรณีที่ลิมิตสวิตซ์ไม่ตัดการทำงาน หรือยกของลงสุดจนตะขอถึงพื้น
- ถ้าต้องการยกสิ่งของที่มีลักษณะยาว เช่น ท่อ หรือเหล็กเส้น ซึ่งจะต้องใช้รอก 2 ตัวช่วยกันพยุงสิ่งของ รอกตัวใดตัวหนึ่งจะต้องสามารถรับน้ำหนักของที่ยกได้ทั้งหมด
- ถ้ามีรอก 2 ตัวในรางเดียวกัน ห้ามไม่ให้รอกเคลื่อนที่มาปะทะกัน และห้ามดึงสายสวิตซ์เพื่อลากตัวรอก
- ควรให้มอเตอร์รอกหยุดทำงานก่อนทำงานขั้นต่อไป และไม่ควรกดปุ่มสวิตซ์ควบคุมถี่ ๆ หรือ ซ้ำ ๆ กันเป็นเวลานาน
- ผู้ควบคุมรอกหรือเครนควรอยู่ด้านหลัง หรือเดินตามหลังสิ่งของที่กำลังยกเสมอ
ข้อควรปฏิบัติหลังการใช้งาน
- การตรวจสอบปั้นจั่นหรือเครน โซ่ และสลิง โดยเคลือบน้ำมันหล่อลื่นที่โซ่ ใช้สารหล่อลื่นเคลือบลวดสลิงเสมอ ในส่วนของปั้นจั่นที่ติดตั้งไว้การแจ้งจะต้องสร้างสิ่งปกคลุมหรือหลังคาคลุม
- ควรเก็บปั้นจั่นให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่กีดขวางการทำงานของผู้อื่น โดยเลื่อนรอกไปไว้ด้านข้าง เก็บโซ่หรือลวดสลิงขึ้น จัดให้มีจุดถอดปั้นจั่น และช่องเก็บสวิตซ์ควบคุม
- Breaker หลังจากเลิกใช้งานเสมอ
สามารถรับชมเพิ่มเติมได้: YONGHONG