เครนเหนือศีรษะ 3 ประเภท ประโยชน์และความสำคัญ

เครนเหนือศีรษะ (Overhead Crane) คืออะไร?

    เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่ในการยกหรือเคลื่อนย้ายวัตถุที่มีน้ำหนักในงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก ประกอบด้วยส่วนประกอบหลายอย่างที่ต้องทำงานร่วมกัน เพื่อให้สามารถยกและขนส่งสิ่งของได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยส่วนมากจะติดตั้งอยู่ภายในอาคาร มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ติดตั้งอยู่บริเวณสูงกว่าพื้น โดยมีทั้งแบบเครนรางต่ำ เครนรางสูง แบบคานเดี่ยว คานคู่ และหนึ่งตะขอยก สองตะขอยก ขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละพื้นที่ และใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนให้ทำงานได้ถึง 6 ทิศทาง (ขึ้น-ลง, ซ้าย-ขวา, หน้า-หลัง)

ข้อดีของการใช้เครนเหนือศีรษะ มีดังนี้ : 

  1. ประหยัดพื้นที่เพราะเครนจะต้องติดตั้งบนรางที่สูง ทำให้พื้นที่ด้านล่างสามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องใช้พื้นที่สำหรับอุปกรณ์ยก 
  2. รองรับน้ำหนักได้มาก สามารถยกของที่มีน้ำหนักมากได้อย่างปลอดภัย
  3. ลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ ช่วยลดความจำเป็นในการยกของหนักด้วยมือ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุได้
  4. สามารถนำเครนไปปรับใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น การก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม หรือโกดังสินค้า
  5. เพิ่มความปลอดภัยในที่ทำงาน สามารถควบคุมผ่านรีโมทหรือระบบอัติโนมัติ เพ่อเลี่ยงการทำงานใกล้ชิดกับวัตถุหนักๆ 
เครนเหนือศีรษะ

ส่วนประกอบหลักของเครนเหนือศีรษะ มีดังนี้ :

 1. คานสะพาน (Bridge Girder): คานสะพานเป็นส่วนสำคัญที่สุด โดยจะวางอยู่ในแนวนอนที่ทอดยาวตามความกว้างของพื้นที่ทำงาน รองรับส่วนประกอบอื่น ๆ และเคลื่อนที่ไปตามรางวิ่ง คานสะพานมักจะติดตั้งของระบบรถเข็นและรอก โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบหลักๆ ดังนี้ 

  • คานสะพานแบบคานเดียว ( Single Girder Bridge Crane) มีเพียงคานเดียวที่พาดข้ามราง เป็นแบบที่นิยมใช้กันในงานที่ไม่ต้องยกน้ำหนักมาก เพราะโครงสร้างเบา ติดตั้งง่าย และมีต้นทุนต่ำ
  • คานสะพานแบบคู่ (Double Girder Bridge Crane) จะมีคานสองเส้นที่พาดข้ามราง มีความแข็งแรงมากกว่าคานแบบเดียว เหมาะสำหรับงานที่ต้องการยกของที่มีน้ำหนักมาก 
  • คานสะพานแบบแขวน (Underhung Bridge Crane) คานจะถูกแขวนไว้ใต้ราง และเคลื่อนที่ไปตามรางที่ยึดกับเพดานของโครงสร้าง โดยแบบนี้มักใช้ในพื้นที่จำกัดหรือพื้นที่ที่ไม่มีเสาในการยึดติ

2. รางวิ่ง (Runway Rails): เป็นการตั้งแนวนอนที่ให้การสนับสนุนและนำทางการเคลื่อนที่ของสะพาน  เคลื่อนไปตามรางเหล่านี้ ทำให้ครอบคลุมความยาวทั้งหมดของพื้นที่ทำงาน

3. รถเข็น (Trolley Frame): เป็นอุปกรณ์ที่เคลื่อนที่ไปตามสะพาน ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายสิ่งของพร้อมบรรทุกด้านข้างได้ มีหน้าที่ในการยกและช่วยให้วางตำแหน่งโหลดได้อย่างแม่นยำขึ้น

4. รอก (Hoist): เป็นอุปกรณ์ส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่ยกและลดภาระ ติดตั้งอยู่บนรถเข็นและสามารถใช้งานได้ทั้งแบบไฟฟ้าหรือแบบแมนนวล (Manual) โดยประกอบด้วย มอเตอร์ ดรัม และตะขอยกหรืออุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ รอกที่นิยมใช้มีหลายประเภท โดยแต่ละประเภทมีคุณสมบัติลและการใช้งานแตกต่างกัน เช่น

  • รอกแบบสายเชือก (Block and Tackle) ใช้เชือกผูกรวมกับรอกเพื่อเพิ่มแรงยก เหมาะสำหรับการยกของเบา ๆ และใช้งานง่าย
  • รอกไฟฟ้า (Electric Hoist) ใช้สำหรับงานที่ต้องยกของมีน้ำหนักมากอย่างต่อเนื่อง
  • รอกมือ (Manual Hoist) ใช้การหมุนมือเพื่อยกของ เหมาะสำหรับยกของเบาไปกลาง รอกประเภทนี้พกพาสะดวก
  • รอกแบบลิฟต์ (Chain Hoist) ใช้โซ่ในการยก มีควรามแข็งแรงทนทานต่อการใช้งานมาก เหมาะในงานอุตสาหกรรมก่อสร้างหรืออุตสาหกรรมหนัก 
  • รอกแบบปรับระดับ (Adjustable Hoist) สามารถปรับระดับความสูงในที่ที่ต้องการยก

5. คานข้าง (End Trucks): เป็นส่วนประกอบที่รองรับสะพานและช่วยให้สามารถเคลื่อนที่ไปตามรางวิ่งได้ โดยทั่วไปแล้วคานข้างจะมีล้อที่เคลื่อนที่ไปตามรางวิ่ง

6. ศูนย์ควบคุม (Radio Controls): ทำหน้าที่ในการใช้ดป็นระบบสั่งการหรือควบคุม ซึ่งอาจรวมถึงระบบควบคุมทั่วไป (อุปกรณ์มือถือที่มีปุ่ม) ตัวควบคุมทางวิทยุ (อุปกรณ์ไร้สาย) และระบบควบคุมห้องโดยสาร (สถานีควบคุมที่อยู่ในห้องโดยสารบนเครน

7. ระบบไฟฟ้า (Panel): ระบบไฟฟ้าของเครนประเภทนี้จะประกอบด้วยสายไฟ สวิตช์ รีเลย์ และส่วนประกอบอื่น ๆ ที่อำนวยความสะดวกในการทำงานของเครนและการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของเครน

8. เบรก (Brakes): เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อควบคุมและหยุดการเคลื่อนที่ ส่วนนี้จำเป็นสำหรับการวางตำแหน่งโหลดที่ปลอดภัยและแม่นยำยิ่งขึ้น

9. ตะขอและอุปกรณ์ยึดสำหรับการยก (Hooks and Lifting Attachments): เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในยึดเพื่อการยกสิ่งของ เครนอาจติดตั้งอุปกรณ์เสริมสำหรับการยกที่แตกต่างกัน เช่น แม่เหล็ก อุปกรณ์ยึด หรือสลิง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของน้ำหนักที่ยกหรือบรรทุก

10. โครงสร้างส่วนประกอบ (Structural Components): องค์ประกอบโครงสร้างต่าง ๆ เช่น คาน เสา และโครงถัก ให้การสนับสนุนและความมั่นคงแก่ระบบ  ส่วนประกอบเหล่านี้ช่วยให้เครนสามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกและทำงานได้อย่างปลอดภัย

11. ระบบจ่ายไฟ (Power Supply System): โดยจะใช้พลังงานไฟฟ้าได้ ต้องเชื่อมต่อกับแหล่งพลังงานที่ให้พลังงานที่จำเป็นในการใช้งานมอเตอร์ ตัวควบคุม และส่วนประกอบไฟฟ้าอื่น ๆ ของระบบเครน

12. ชุดควบคุมแบบมีสาย (Pendent Control): เป็นอุปกรณ์ควบคุมชุด Overhead Crane ให้ทำงานตามคำสั่งที่ผู้ควบคุมใช้งาน เพื่อไปสั่งงานมอเตอร์ไฟฟ้าให้ทำงาน ในการเคลื่อนที่ของเครนเพื่อยกของ โดยมีทั้งแบบสายที่ต่อตรงกับชุดเครน หรือ ชุดไร้สายประเภท Remote Audio Console

13. ชุดขับเคลื่อนล้อ (Drive Unit): ชุดนี้จะทำหน้าที่ในการเคลื่อนที่ได้ในทุกมิติ โดยจะมีล้อวิ่งภายในรางและชุดหยุดเพื่อไม่ให้เครนตกราง

14. ลิมิตสวิตช์และเซ็นเซอร์ (Limit Switches and Sensors): เป็นความปลอดภัยที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันการเคลื่อนที่เกินหรือชนกับสิ่งกีดขวาง ลิมิตสวิตช์และเซ็นเซอร์สามารถหยุดการทำงานของเครนได้โดยอัตโนมัติ เมื่อมีการทำงานไม่ตรงตามเงื่อนไขบางประการ

     ส่วนประกอบทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น เป็นส่วนประกอบพื้นฐานของระบบเครนเหนือศีรษะ ทั้งนี้การใช้งานจริง อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามการออกแบบสำหรับใช้งานโดยเฉพาะ และคุณลักษณะเฉพาะของเครนอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น วัตถุประสงค์การใช้งาน ความสามารถในการรับน้ำหนัก และสภาพแวดล้อมที่จะใช้งาน

บริษัท ย่งฮง (ประเทศไทย) จำกัด รับออกแบบเครน และติดตั้ง เครนโรงงาน เครนสนาม เครนโกดัง ตามหลักวิศวกรรมเพื่อการเลือกใช้อุปกรณ์ประกอบให้ได้ตามมาตรฐานและมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก ควบคุมโดยวิศวกรผู้ชำนาญ พร้อมการทดสอบเดินระบบและแนะนำการใช้งานก่อนส่งมอบงาน พร้อมทั้งยังบริการหลังขาย

สนใจสินค้าหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
     Tel 02-618-3000 , 02-036-3000
     Hotline 088-008-2300

สามารถรับชมเพิ่มเติมได้: YONGHONG

สนใจสินค้าหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม