การตรวจเช็ค PM เป็นการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) ที่ฝ่ายผลิตหรือฝ่ายต่างๆควรให้ความสำคัญ เพราะถ้าเกิดเครื่องจักรหรืออุปกรณ์เสียหายเกิดการชำรุด อาจจะส่งผลเสียอย่างมหาศาล ทั้งในเรื่องของจำนวนการผลิตและระยะเวลาที่ล่าช้า ซึ่งจะไม่เป็นผลดีเอาแน่ๆถ้าไม่ได้มีการวางแผนตรวจเช็คไว้
การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน : PM (Preventive Maintenance) คือ การคาดการณ์หรือการป้องกันความเสียหายของอุปกรณ์ในอนาคต โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะทำการตรวจเช็ค บำรุงรักษาและซ่อมแซมอุปกรณ์อยู่ตลอด เพื่อให้มั่นได้ใจว่าอุปกรณ์ยังสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งการตลอดเช็ค PM อยู่ตลอดจะช่วยลดการบำรุงรักษาครั้งใหญ่ที่เกิดทำให้อุปกรณ์เราเสียหายหรือต้องหยุดการทำงานต่างๆ อาจจะต้องเสียเวลาเพิ่มในการทำงานด้านอื่นๆไปด้วย
โดยทั่วไปการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้านั้นถือว่าดีกว่าอยู่แล้ว การตรวจเช็ค PM จะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดปัญหาที่ไม่คาดคิด จะมีเป้าหมายครอบคลุม 3 ประการดังนี้
- เพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร
- เพื่อเพิ่มผลผลิต
- เพื่อให้ผู้คนและทรัพย์สินปลอดภัยจากอันตรายจากอุปกรณ์ต่างๆ
ข้อดี – ข้อเสีย ของการตรวจเช็ค PM
✔ เพิ่มความปลอดภัย ตรวจสอบและป้องกันกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต | ✘ ข้อจำกัดด้านงบประมาณ จ้างผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาช่วยบริหารจัดการ จึงมีปัญหาด้านงบประมาณได้ |
✔ อายุการใช้งานของอุปกรณ์ที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อแน่ใจว่าเครื่องจักร และอุปกรณ์ยังสามารถทำงานได้อย่างราบลื่นลดโอกาสเสียหายครั้ง | ✘ ต้องการทรัพยากรเพิ่ม อาจจะต้องใช้พนักงานที่มีความรู้ความเข้าใจ หรือมีประสบการณ์ทำให้อาจจะต้องจ้างบุคลากรเพิ่ม หรือ จ้างผู้เชี่ยวชาญภายนอกเข้ามาช่วยจัดการ |
✔ เพิ่มผลผลิต สามารถป้องกันการลดลงของประสิทธิภาพการผลิต ลดเวลาหยุดงานของเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล | |
✔ต้นทุนลดลง ซ่อมบำรุงหรือรักษาสภาพได้ดี จะช่วยลดการบำรุงรักษาเชิงรับ ลดการหยุดงานของเครื่องจักร และลดความเสียหายของเครื่องจักรโดยรวม ซึ่งเป็นการลดต้นทุนของบริษัทในที่สุด |
- บริการตรวจสอบรอก (Hoist) รอกโซ่มือสาว (Chain Block) รอกโซ่ไฟฟ้า (Electric Chain Hoist) ระบบรางเครน ระบบโครงสร้าง (Crane) และลิฟท์บรรทุก (Elevator) โดยมีการออกเอกสารรับรองความปลอดภัยตามกฎหมาย (ปจ.1)
- รวมถึงยังมีบริการตรวจสอบระบบปั๊มน้ำดีและปั๊มจุ่มในระบบบำบัดน้ำเสีย