ปั๊มเติมอากาศใต้น้ำในการบำบัดน้ำเสียแต่ละชนิด ต่างกันอย่างไร

การบำบัดน้ำเสียด้วยการเติมอากาศ (Aerated Lagoon หรือ AL)

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศโดยการเติมออกซิเจน (Oxygen) ลงไปในน้ำโดยใช้ปั๊มเติมอากาศใต้น้ำ เพื่อเพิ่มออกซิเจน (Oxygen) ให้เพียงพอต่อการย่อยสลายสารอินทรีย์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดค่า BOD หรือ ค่าความสกปรกของน้ำเสีย สามารถส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของทั้งคนและสิ่งมีชีวิต คือ ปัญหาน้ำเสีย เพราะน้ำถือเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้น ๆ ในการดำรงชีวิตของทั้งคนและสิ่งมีชีวิต ปัญหาน้ำเสียนั้นมีสาเหตุได้หลากหลายปัจจัย และยังส่งผลเสียต่อระบบนิเวศทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งโดยปกติแล้วธรรมชาติสามารถบำบัดน้ำเสียเหล่านี้ให้ดีขึ้นได้ด้วยตนเองอยู่แล้ว แต่ด้วยปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นปัจจุบันทำให้การบำบัดโดยธรรมชาติไม่เพียงพอ เราจึงต้องนำนวัตกรรมเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการบำบัดน้ำเสีย เพื่อคืนความสมดุลสู่ธรรมชาติด้วยการใช้ปั๊มเติมอากาศ โดยแต่ละสถานที่มีความแตกต่างกันจึงควรเลือกปั๊มเติมอากาศให้เหมาะสมกับสถานที่ เพื่อประสิทธิภาพของการบำบัดเพิ่มมากขึ้น

เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ (Submersible Aerator) หรือ ปั๊มเติมอากาศใต้น้ำ ((Submersible Pump)

มีลักษณะผสมกันระหว่างเครื่องสูบน้ำ (Pump) เครื่องดูดอากาศ (Air Blower) และเครื่องตีอากาศให้ผสมกับน้ำ (Disperser) อยู่ในเครื่องเดียวกัน แต่มีข้อจำกัดด้านการกวนน้ำ (Mixing) ของแต่ละรุ่นแตกต่างกันออกไป โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

เครื่องเติมอากาศใต้ผิวน้ำแบบรอบทิศ (Submersible Aerator pump)

       เป็นเครื่องเติมอากาศแบบติดตั้งใต้น้ำ มีฟังชั่นการทำงานแบบสูบอากาศด้วยตัวเอง มีลักษณะเป็นแบบปั๊มจุ่ม ตัวปั๊มทำงานโดยการแช่อยู่ในน้ำบางส่วนหรือทั้งตัวปั๊ม การพ่นอากาศออกรอบทิศทาง 360 องศา ใบพัดมีลักษณะกึ่งเปิด (semi-open) แบบพิเศษที่ติดตั้งไว้ภายใน ทำให้เกิดการดึงอากาศจากบริเวณผิวน้ำลงสู่ใต้น้ำ อากาศที่ถูกดูดจะผสมกับน้ำและถูกระบายออกไปด้วยแรงดันสูง กลไกนี้ถูกคิดค้นเพื่อเพิ่มความสามารถในการแตกตัวของออกซิเจนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เหมาะกับการใช้งานในบ่อบำบัดที่มีลักษณะกลม หรือ สี่เหลี่ยมจัตุรัส ทำงานด้วยการดูดอากาศจากท่อด้านบน มีการให้ปริมาณออกซิเจนกระจายอย่างทั่วถึง อาทิเช่น เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ KIRA รุ่น SP

ปั๊มเติมอากาศใต้น้ำ

ระบบการทำงาน

1. เริ่มต้นทำงานจากการการดึงอากาศจากบนพื้นดินลงไปที่ปั๊ม

2. อากาศที่ส่งลงมาตามท่อจะทำให้ใบพัดเริ่มหมุน พร้อมทั้งเชื่อมต่อโดยตรงกับมอเตอร์ เพื่อสร้างแรงเหวี่ยงหรือแรงเหวี่ยงหนีศูนย์

3. เมื่อมีอากาศเข้าสู่ท่อ มอเตอร์ที่ทำงานจะสร้างความดันเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งเกิดเป็นสุญญากาศ

4. การเกิดแรงเหวี่ยง ส่งผลทำให้ดึงอากาศที่เติมเข้าจากด้านบนและน้ำเสียในบ่อบำบัดน้ำมาผสมกัน และพ่นออกมาในทางช่องระบายอากาศรอบทิศทางอย่างรวดเร็ว (เป็นการบำบัดน้ำเสีย)

5. อากาศและน้ำที่พ่นออกมาจะมีฟองอากาศเล็ก ๆ และมีค่า Oxygen transfer rate (BHP) สูงกว่าปั๊มน้ำรุ่นอื่น ๆ

เครื่องเติมอากาศแบบ Ejector (Submersible ejector pump)

            เป็นเครื่องเติมอากาศแบบติดตั้งใต้น้ำ มีลักษณะคล้ายปั๊มจุ่ม ตัวปั๊มทำงานโดยการแช่อยู่ในน้ำ แต่ทำงานโดยการดูดอากาศจากด้านบนผิวน้ำ และพ่นอากาศทิศทิศทางเดียวผ่าน Diffuser ทำให้เกิดการหมุนเวียนในแนวดิ่ง ทำให้เติมอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพในบริเวณกว้างแต่ไม่ได้รอบด้าน ที่ตัวปั๊มอยู่ใต้น้ำทำให้ไม่มีเสียงรบกวน นิยมนำไปใช้ในระบบบำบัดน้ำเสีย เหมาะกับถังบำบัดหรือบ่อบำบัดที่มีลักษณะเป็นแนวยาว หรือ สี่เหลี่ยมผืนผ้า เช่น เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ KIRA รุ่น EP

ปั๊มเติมอากาศใต้น้ำ

ระบบการทำงาน

1. เริ่มจากการดึงอากาศจากด้านบนพื้นดินลงสู่ท่อเพื่อส่งไปยังตัวปั๊ม

2. ตัวปั๊มจะดูดน้ำเสียจากบริเวณด้านหลังตัวปั๊ม เพื่อนำน้ำเสียมาผสมรวมตัวกันกับอากาศที่ส่งมาข้างต้น

3. เมื่อน้ำเสียและอากาศมาผสมกันจะถูกผลักด้วยแรงดัน พร้อมพ่นออกจากตัวปั๊มออกสู่บ่อน้ำเสีย (เป็นการบำบัดน้ำเสีย)

4. โดยน้ำที่พ่นออกมาของตัวปั๊มจะออกมาในทิศทางเดียว ไม่ได้มีการกระจายรอบทิศทางเหมือนรูปแบบ เครื่องเติมอากาศใต้ผิวน้ำแบบรอบทิศ (Submersible Aerator pump)

         จากที่กล่าวมาข้างต้นทำให้รู้ถึงระบบการทำงานรวมไปถึงลักษณะของปั๊มได้อย่างครบถ้วย เมื่อเราวิเคราะห์สถานที่ ความต้องการ ร่วมด้วยทำให้สามารถเลือกปั๊มเติมอากาศใต้น้ำใช้ได้อย่างเหมาะสม กับพื้นที่ของเรามากที่สุด เพื่อให้การทำงานของตัวปั๊มที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าในการเลือกใช้ปั๊มน้ำเติมอากาศใต้น้ำ

 

สนใจสินค้าหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม