ข้อแตกต่างในการติดตั้งปั๊มแช่ 2 รูปแบบ

การติดตั้งปั๊มสูบน้ำเสีย เป็นการเชื่อมต่อท่อระบายออกของปั๊มกับท่อในระบบ จะมีการติดตั้งอยู่สองแบบ คือ ข้องอ (Elbow) และไกด์เรียล (Guide Rail) การเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับการออกแบบ ลักษณะของบ่อ และการใช้งาน รวมไปถึงประเภทของปั๊มแช่ที่เลือกใช้ ปั๊มแช่บางรุ่น ไม่ได้ออกแบบมาให้สามารถติดตั้งไกด์เรียลได้ ซึ่งปั๊มแช่สูบน้ำเสีย KIRA มีหลายรุ่นให้เลือกใช้งานให้เหมาะแก่ของเหลวที่จะสูบและพื้นที่ในการติดตั้ง ทุกรุ่นสามารถติดตั้งได้ทั้ง 2 แบบ

ข้องอ (Elbow) และไกด์เรียล(Guide Rail) เป็นส่วนประกอบสองแบบที่แตกต่างกันในการติดตั้งปั๊มสูบน้ำเสีย

  • ข้องอ (Elbow) เป็นข้อต่อท่อชนิดหนึ่งที่ถูกใช้เพื่อเชื่อมต่อทางระบายออกของปั๊มกับระบบท่อ ในการควบคุมการไหลของของเหลวหรือก๊าซในระบบท่อ โดยการสามารถเปลี่ยนทิศทางการไหลได้ โดยทั่วไปจะใช้เพื่อเชื่อมต่อท่อสองท่อที่มีขนาดต่างกันหรือเกิดมุมเลี้ยวในระบบท่อ ในการติดตั้งปั๊มที่ใช้ข้องอ ทําให้การไหลของเหลวสามารถกําหนดทิศทางได้
    >> การติดตั้ง : การนำปั๊มลงไปติดตั้งในบ่อ จะมีการออกแบบเส้นท่อให้ท่อในระบบหลักกับท่อระบายออกของปั๊มตรงกันพอดี เพื่อที่จะไขสกรูยึดติดเข้าด้วยกัน
    >> ในการบำรุงรักษา : จะต้องสูบในบ่อออกให้หมด เพื่อให้เห็นตัวปั๊มที่อยู่ก้นบ่อ จะต้องไขสกรูเพื่อนำตัวปั๊มออกจากตัวระบบท่อของขบวนการบำบัดในการดึงตัวปั๊มขึ้นมาซ่อมแซม
ข้องอ
  • ไกด์เรียล (Guide Rail) เป็นการลำเลียงตัวปั๊มลงในแนวดิ่ง เพื่อส่งปั๊มลงสู่ก้นบ่อ เหมาะสำหรับหรับบ่อบำบัดน้ำเสียที่มีขนาดใหญ่ ไกด์เรียลที่ใช้นำทางของปั๊มเป็นการเคลื่อยนย้ายและยึดปั๊มให้อยู่กับที่ ทำให้ง่ายต่อการติดตั้งและบำรุงรักษา โดยทั่วไปไกด์เรียลจะใช้กับปั๊มจุ่มที่มีการติดตั้งในหลุมหรือบ่อน้ำ
    >> การติดตั้ง : จะมีอุปกรณ์ดังนี้ ไกด์ซัพพอร์ทจะติดตั้งบริเวณขอบบ่อเพื่อเป็นตัวยึดไกด์ไปป์ไปถึงไกด์ฮุกที่ก้นบ่อ โดยตีนเป็ดจะถูกยึดกับพื้นบ่อและจะต่อกับท่อในระบบ ตัวไกด์ไปป์จะเป็นตัวนำทางของปั๊มโดยตั้งอยู่ด้านบนตีนเป็ด และไกด์ฮุกจะเป็นตัวลำเลียงปั๊มจากด้านบนลงสู่ด้านล่าง ให้ปั๊มประกบกับตีนเป็ดพอดี
    >> ในการบำรุงรักษา : ใช่โซ่ดึงตัวปั๊มขึ้นทางไกด์เรียล ในการซ่อมแซมตัวปั๊มได้เลย
ข้องอ
ข้องอ

การติดตั้ง ปั๊มแช่สูบน้ำเสีย (Submersible Sewage Pump) เป็นกระบวนการที่สำคัญในการจัดการน้ำเสียในระบบระบายน้ำ เพื่อให้การระบายน้ำเสียเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยปั๊มแช่จะทำงานโดยการจมอยู่ในน้ำเสียและสูบออกไปยังจุดที่ต้องการ ซึ่งช่วยลดปัญหาการสะสมของน้ำเสียในพื้นที่ต่างๆ ได้ วิธีการติดตั้งปั๊มจุ่มสูบน้ำเสียมีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้:

1. การเตรียมพื้นที่ติดตั้ง

เลือกตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งปั๊ม ควรติดตั้งปั๊มในพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายสำหรับการบำรุงรักษาและซ่อมแซม ควรเลือกจุดที่น้ำเสียสามารถไหลเข้ามาได้โดยง่ายและตรวจสอบความลึกของบ่อให้เหมาะสม

2. การเลือกปั๊มแช่สูบน้ำเสีย

  • ขนาดและกำลังของปั๊ม: เลือกปั๊มที่มีขนาดและกำลังไฟฟ้าตรงตามความต้องการของระบบการสูบน้ำเสีย เช่น ปริมาณน้ำที่ต้องการสูบในแต่ละวัน หรือปริมาณน้ำที่ต้องการระบายออกจากระบบ

  • วัสดุของปั๊ม: ปั๊มแช่สูบน้ำเสียควรทำจากวัสดุที่ทนทานต่อการกัดกร่อน เช่น สแตนเลส หรือวัสดุพิเศษที่ทนทานต่อน้ำเสียที่มีสารเคมี

  • กำลังส่ง (Head): คำนวณความสูงที่ปั๊มต้องสูบ (Head) เพื่อให้ปั๊มสามารถสูบน้ำได้ถึงจุดที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. การติดตั้งสายไฟและการเชื่อมต่อกับแหล่งจ่ายไฟ

  • ติดตั้งระบบไฟฟ้า: ปั๊มแช่ต้องเชื่อมต่อกับแหล่งจ่ายไฟฟ้าที่มีความปลอดภัยและมั่นคง ควรติดตั้งสายไฟที่มีขนาดเหมาะสมกับกำลังของปั๊ม และใช้ระบบไฟฟ้าที่สามารถทนทานต่อการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำได้

  • การใช้เบรกเกอร์ (Circuit Breaker): ควรติดตั้งเบรกเกอร์หรือฟิวส์เพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรและการเกิดอันตรายจากการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ที่มีน้ำ

  • การเชื่อมต่อกับแผงควบคุม: ปั๊มแช่ควรเชื่อมต่อกับแผงควบคุมที่สามารถควบคุมการทำงานของปั๊ม เช่น การตั้งเวลา การเปิด/ปิดอัตโนมัติ หรือการตรวจสอบสถานะการทำงาน

4. การติดตั้งท่อและการระบาย

  • การติดตั้งท่อดูด: ท่อที่เชื่อมต่อกับปั๊มแช่จะต้องติดตั้งให้เหมาะสมกับขนาดท่อดูดของปั๊ม โดยท่อจะต้องติดตั้งในตำแหน่งที่สามารถดูดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีขนาดพอเหมาะที่จะไม่เกิดการอุดตันจากของเสีย

  • ท่อระบาย (Discharge Pipe): ท่อระบายจะต้องติดตั้งในลักษณะที่ช่วยให้น้ำเสียที่ถูกสูบออกไปจากปั๊มไหลออกไปยังจุดที่ต้องการ โดยต้องมั่นใจว่าท่อระบายไม่เกิดการอุดตัน และติดตั้งระบบป้องกันการไหลย้อนกลับ เช่น Check Valve หรือ Non-Return Valve เพื่อลดการไหลย้อนกลับของน้ำเสีย

5. ตรวจสอบการทำงานและบำรุงรักษา

  • ทดสอบการทำงาน: หลังการติดตั้ง ควรทำการทดสอบการทำงานของปั๊มแช่เพื่อให้มั่นใจว่าปั๊มทำงานได้ตามปกติ เช่น การตรวจสอบการไหลของน้ำ การทำงานของระบบไฟฟ้า และการทำงานของระบบควบคุม

  • การบำรุงรักษา: ควรมีการบำรุงรักษาปั๊มแช่เป็นระยะ เช่น การทำความสะอาดใบพัด การตรวจสอบระดับน้ำในบ่อ การตรวจสอบสภาพท่อ และการทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้การทำงานของปั๊มมีประสิทธิภาพสูงสุ

    ทางบริษัท ย่งฮง (ประเทศไทย) จำกัด นำเข้าและจัดจำหน่าย ปั๊มแช่ อุปกรณ์ในระบบบำบัดน้ำเสีย เครื่องเติมอากาศ ปั๊มน้ำ พร้อมรับประกอบและติดตั้ง บริการหลังการขาย และมีอะไหล่ให้บริการ หากสนใจ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางช่องทางด้านล่างได้เลยนะคะ

สามารถรับชม : วิธีการติดตั้งไกด์เรียล

สนใจสินค้าหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม